in

ข้อแตกต่างระหว่างแบตเตอรี Lithium Polymer กับ Lithium Ion

อีกหนึ่งเรื่องที่มีผู้สอบถามเข้ามาเกี่ยวกับเรื่องชนิดของแบตเตอรีว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรระหว่าง Lithium Polymer กับ Lithium Ion  และตัวไหนมันดีกว่ากัน วันนี้ทีมงานหาคำตอบมาให้ชมกันครับ

ปัจจุบัน มือถือปกติและสมาร์ทโฟนส่วนใหญ่ใช้แบตเตอรี่อยู่ 2 ประเภทหลักๆคือ Lithium Ion และ Lithium Polymer ซึ่ง ทั้ง 2 อย่างจะให้ผลที่แตกต่างกันค่อนข้างชัดเจนทีเดียว เรามารู้จักกันทีละตัวนะครับ

 

Lithium Ion

เป็นแบตที่ถูกพัฒนาขึ้นในปี 1912 แต่ไม่ถูกใช้อย่างแพร่หลายนัก จนกระทั่ง Sony เลือกใช้แบตชนิดนี้ในปี 1991 (นานเหมือนกันนะครับ กว่าจะเริ่มนิยม) แบตเตอรี่ประเภท Lithium Ion มีความหนาแน่นของพลังงานสูง และที่สำคัญราคาถูกกว่า Lithium Polymer ในการใช้ครั้งแรกไม่ต้องชาร์จก่อน และการปลดปล่อยพลังงานต่ำมาก อย่างไรก็ตาม Lithium Ion จะมีการเสื่อมสภาพตามวัยแม้ไม่ได้ถูกใช้ก็ตาม

ประเภท กลุ่มที่ 2 (กลุ่มแรก Ni-Cad)
ปฏิกริริยาทางเคมี แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอิเล็กโทรไลท์
อุณภูมิในการปฏิบัติการ 4º F ถึง 140º F ( -20º C ถึง 60º C)
เหมาะแก่การใช้งานกับ มือถือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์มือถือ (สมาร์ทโฟนนั่นเอง)
แรงดันเริ่มต้น 3.6 & 7.2
ความจุ แตกต่างกันไป แต่ปกติเป็น 2 เท่าของ Ni-Cad
อัตราการคลายประจุ น้อย
อายุการใช้งาน 300 – 400 cycles ทุก 100%
อุณภูมิในการชาร์จ 32º F ถึง 140º F (0º C ถึง 60º C)
อายุการเก็บรักษา สูญเสียประจุน้อยกว่า 0.1% ต่อเดือน
อุณหภูมิในการเก็บ -4º F ถึง 140º F ( -20º C ถึง 60º C)
การกำจัด
  • สามารถนำไปรีไซเคิลได้
หมายเหตุอื่นๆ
  • เหมาะแก่การชาร์จภายในอุปกรณ์มากกว่าการชาณืจภายนอก
  • การผลิตขึ้นมา ถูกจำกัดในรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า
  • เบากว่าแบตเตอรีจำพวกนิกเกิล (Ni-Cad และ NiHM)

Lithium Polymer

ย้อนกลับไปเมื่อปี 1970 ตอนนั้น Lithium Polymer ได้ถูกพัฒนาขึ้น การออกแบบครั้งแรกได้รวม อิเล็กโทรไลท์-โพลิเมอร์ ในรูปแบบ แข็ง และ แห้ง คล้ายกับฟิล์มพลาสติก ทำให้ผลออกมาคือ รูปร่างจะคล้ายๆกับ บัตรเครดิต (มีลักษณะบาง) ในขณะที่ยังคงมีความสามารถในการคงอายุการใช้งานที่ดี นอกจากนี้ แบตเตอรรี่ประเภทนี้ ยังมีความเบา และถูกปรับปรุงให้มีความปลอดภัยสูงยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม แบตประเภทนี้มีราคาที่สูงกว่า Lithium Ion และมีความหนาแน่นของแบตเตอรี่น้อยกว่า Lithium Ion

ประเภท กลุ่มที่ 2
ปฏิกิริยาทางเคมี แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอิเล็กโทรไลท์
อุณภูมิในการปฏิบัติการ ประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ
เหมาะแก่การใช้งานกับ มือถือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์มือถือ (สมาร์ทโฟนนั่นเอง)
แรงดันเริ่มต้น 3.6 & 7.2
ความจุ แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแบตเตอรี่
อัตราการคลายประจุ น้อย
อายุการใช้งาน 300 – 400 cycles
อุณภูมิในการชาร์จ 32º F ถึง 140º F (0º C ถึง 60º C)
อายุการเก็บรักษา สูญเสียประจุน้อยกว่า 0.1% ต่อเดือน
อุณหภูมิในการเก็บ -4º F ถึง 140º F ( -20º C ถึง 60º C)
การจัดการ
  • รีไซเคิลได้
อื่นๆ 
  • เหมาะแก่การชาร์จภายในอุปกรณ์มากกว่าการชาณืจภายนอก
  • เบากว่าแบตเตอรีจำพวกนิกเกิล (Ni-Cad และ NiHM)
  • การผลิต ไม่จำกัดในด้านรูปทรง

สุดท้ายแล้ว ผู้ชนะคือ…

หลังจากที่คุณอ่านในมุมของสเปกแบตเตอรี่ของทั้ง 2 ประเภทจบแล้ว มันทำให้เห็นความแตกต่างของทั้ง 2 อย่างนี้ค่อนข้างน้อย (กินกันไม่ค่อยลง) ถึงแม้ว่า แบตเตอรี่ประเภท Lithium Polymer จะมีความเบา บางกว่า แต่ในทางกลับกันที่ Lithium Ion นั้นหนากว่า แต่การก็มีความหนาแน่นของพลังงานสูงกว่า แต่ในเรื่องของ มือถือ อย่างไร Lithium Ion เป็นตัวเลือกที่ไม่ค่อยถูกใช้มากนัก เพราะ เรื่องของความบางเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้คุณเลือกซื้อมือถือแบรนด์นั้นๆ

แล้ว Apple iPhone ใช้แบบไหน?

ก็หาคำตอบอยู่นานเหมือนกันว่ามันใช้แบบไหนกันแน่ หากดูจากรูปร่างและความบางแล้วจะต้องเป็นแบบ Polymer แน่นอน แต่ว่าพอเช็คสเปคแล้วพบว่าใช้ Lithium Ion นะครับ

ขอบคุณ

Update 1:  อย่างที่แจ้งหากเข้าไปเช็คที่ iPhone Spec เราจะเห็นเพียง Lithium Ion เท่านั้น แต่หากดูที่ภาพของแบตที่แกะออกมาจาก iPhone 5 แล้วก็พบว่าเป็นแบบ Polymer ครับ

ภาพการแกะตัวเครื่อง iPhone 5 เผยให้เห็นชนิดของแบตเตอรี
โดย iFixit

ที่มา ifixit

ความคิดเห็น - Like เพจ iPhoneMod.net

เขียนโดย Attapon Thaphaengphan

ศิษย์เก่าวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ม. ขอนแก่น ผู้ก่อตั้ง iPhoneMod.net ตั้งแต่ปี 2009
อดีต Dell Technical Support รู้จัก ​Apple เพราะ Macbook Pro และใช้ iPhone ตั้งแต่รุ่น 3G จนถึงปัจจุบัน