Cover
in

PR – ทรูคว้า 4 รางวัลจาก 3 ผลงานนวัตกรรม ในงาน “47th International Exhibition of Innovation Geneva”

ทรูได้ก้าวสู่ผู้นำโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเต็มรูปแบบ ได้เตรียมพร้อมในทุกๆ ด้าน โดยเชื่อมโยงผู้คน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความสุขของคนไทยแบบยั่งยืน รวมทั้งปักหมุดทิศทางนวัตกรรมในอนาคต ที่ไม่ได้มุ่งสู่ธุรกิจด้านเดียว แต่ให้ความสำคัญด้านสังคมและสิงแวดล้อมควบคู่กันไป จึงมุ่งมั่นพัฒนาสร้างสรรค์แพลตฟอร์มหรือผลงานนวัตกรรมมิติใหม่ 3 ผลงาน ที่ยกระดับคุณภาพเกษตรกรยุคดิจิทัลให้สามารถบริหารจัดเรื่องเกษตรกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ ครบวงจร และมีส่วนร่วมจัดระเบียบสังคมให้คนในชุมชนขับขี่อย่างปลอดภัยในยุคThailand 4.0

ทั้ง 3 ผลงานยังได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนของไทยร่วมกับคณะองค์กรอื่นๆ ไปแข่งขันเวทีระดับโลก “The 47th International Exhibition of Inventions Geneva” งานแสดงสิ่งประดิษฐ์และผลงานนวัตกรรมระดับโลก ณ นครเจนีวา และกวาด 4 รางวัลซึ่งนำชื่อเสียงและความภูมิใจมาสู่ประเทศไทย

ทรูคว้า 4 รางวัลจาก 3 ผลงานนวัตกรรมในงาน “47th International Exhibition of Innovation Geneva”

02

1. True Robotics Platform : Service Robot Plug & Play

รางวัลเหรียญทองแดง ในกลุ่มเครื่องกล เครื่องยนต์ เครื่องจักร (Machanics, Engines, Machines)

เทคโนโลยีหุ่นยนต์มีบทบาทในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้า อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ และอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วยจุดเด่นที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน  และลดความเสี่ยงของมนุษย์ จากขั้นตอนการผลิตหรือการทำงานภายใต้สภาวะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ปัจจุบัน เทคโนโลยีหุ่นยนต์มีบทบาทอย่างมากในภาคอุตสาหกรรมบริการ เช่น การนำหุ่นยนต์เข้าไปช่วยขนของ หรือแม้กระทั้งการใช้หุนยนต์นำทางผู้เข้าพักไปยังห้องพักภายในโรงแรม เป็นต้น ซึ่งช่วยเพิ่มขีดความสามารถการให้บริการ และเพิ่มความสะดวกสบาย ความรวดเร็วแก่ผู้รับบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่กำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคบริการมีความรุนแรงมากขึ้น หุ่นยนต์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยตอบโจทย์ต่างๆ เหล่านี้

บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ศึกษาวิจัยและพัฒนาแพลตฟอร์มหุ่นยนต์เคลื่อนที่ (Mobile Robot Platform) เพื่อให้นำมาใช้ประโยชน์ในภาคธุรกิจมากขึ้น โดยพัฒนาให้ประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบตามความต้องการของผู้ใช้ รวมทั้งปรับให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น นำเทคโนโลยีเดิมๆ ที่หลายๆ คนคุ้นเคย อย่างเช่น แอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และเว็บแอปพลิเคชัน จนได้ ทรู โรโบติกส์ แพลตฟอร์มที่คนทั่วไปสามารถใช้งานได้อย่างง่ายดาย ภายใต้คอนเซ็ป “Service Robot Plug & Play”

03

“ทรู โรโบติกส์ แพลตฟอร์ม (True Robotics Platform)” ประกอบด้วย หุ่นยนต์เคลื่อนที่ พัฒนาบนพื้นฐานระบบปฏิบัติการหุ่นยนต์ (Robotics Operating System) ซึ่งมีระบบนำทางภายในอาคาร (Indoor Navigation System) นำทางหุ่นยนต์ให้เคลื่อนที่ไปยังจุดหมายต่างๆ ภายในบริเวณอาคารตามที่ผู้ใช้งานต้องการ โดยมี เว็บแอปพลิเคชัน ช่วยบริหารจัดการข้อมูลและควบคุมหุ่นยนต์ และมีส่วนที่ปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งาน สามารถปรับเปลี่ยนโมดูลตามความต้องการใช้งาน

จุดเด่นของแพลตฟอร์มนี้ คือ สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้เหมาะสมกับแต่ละธุรกิจได้ เช่น ธุรกิจร้านกาแฟสามารถปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นให้รับรายการอาหาร เครื่องดื่ม และบริการอื่นๆ สำหรับร้านกาแฟ หรือถ้าเป็นธุรกิจงานโฆษณาสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เป็นจอแสดงผลสำหรับโฆษณาสินค้าหรือบริการของร้านต่างๆ ภายในห้างสรรพสินค้า เป็นต้น

ที่สำคัญ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริการทำได้ง่ายดาย แค่มีความรู้การใช้งานคอมพิวเตอร์เบื้องต้นและเคยใช้งานแอปพลิเคชันต่างๆ บนสมาร์ทโฟนหรือเว็บไซต์ก็สามารถปรับเปลี่ยนและตั้งค่าหุ่นยนต์ได้ด้วยตนเอง ไม่จำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์เข้ามาเพิ่มในองค์กร

เทคโนโลยีหุ่นยนต์จึงเป็นอีกทางเลือกที่จะเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงาน และยังเป็นการเปิดประสบการณ์การใช้งานใหม่ๆ ให้แก่บุคคลทั่วไป สร้างความตระหนักในการนำเอาเทคโนโลยีหุ่นยนต์เข้ามาใช้งาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ ซึ่งจะเป็นตัวดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการมากขึ้น ทั้งนี้ จากการทำการวิจัยด้านหุ่นยนต์กับการใช้งานทางภาคธุรกิจพบว่า การนำหุ่นยนต์มาใช้งานจะสร้างภาพลักษณ์ด้านเทคโนโลยี และสร้างความเป็นผู้นำทางด้านนวัตกรรมให้แก่องค์กร รวมถึงสามารถกระจายกลุ่มลูกค้าให้หลากหลายมากขึ้น

2. แอปพลิเคชันใกล้ตัว “GoodEyes –ผิดกฎ เราถ่าย”

รางวัลเหรียญทองแดง ในกลุ่มความปลอดภัย การช่วยเหลือ การเตือนภัย (Security, Rescue, Alarm) และรางวัล The Best Invention Award จาก The 1st Institute Inventors and Researchers  ประเทศอิหร่าน

04 1

อุบัติเหตุบนท้องถนนในประเทศไทยมีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี และเป็นสาเหตุหลักทำให้เกิดการบาดเจ็บ พิการ หรือ เสียชีวิต  โดยในปี 2561 ที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนกว่า 18,000 ราย ซึ่งนอกจากความประมาทของผู้ขับขี่แล้ว ยังมีสาเหตุมาจากการฝ่าฝืนกฎระเบียบของผู้ขับขี่ยานพาหนะ ไม่ว่าจะเป็นรถโดยสาร รถจักรยานยนต์  การทำผิดในลักษณะการจอดรถในเขตที่มีเครื่องหมายห้ามจอด การขับขี่รถโดยสารบนทางเท้า และ การขับขี่รถโดยสารขณะมึนเมา เป็นต้น

ทั้งนี้ ทีมนวัตกรรม ของ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) จึงมีแนวความคิดในการหาวิธีบันทึกผู้ที่ทำผิดกฎจราจรแบบเรียลไทม์ ณ สถานที่เกิดเหตุ เพื่อเป็นการป้องปรามผู้กระทำผิด และยังเป็นการสร้างวินัย และสร้างจิตสำนึกในการขับขี่ปลอดภัย ด้วยการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันที่สามารถบันทึกภาพ หรือวีดีโอขนาดสั้นที่แสดงให้เห็นพฤติกรรมของผู้กระทำผิดกฎจราจรให้อยู่ในรูปแบบที่ใช้งานง่ายไม่ยุ่งยากสามารถบันทึกภาพได้ทันที พร้อมระบุตำแหน่งจุดเกิดเหตุโดยอัตโนมัติ แล้วส่งต่อผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อบันทึก ตักเตือน และออกค่าปรับตามกฎหมายต่อไป

การพัฒนาแอปพลิเคชันดังกล่าว เพื่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงกระบวนการทางสังคมอย่างสูงสุด โดยนำเทคโนโลยีปัจจุบันมาพัฒนาเพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่มีประโยชน์กว่า สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในภาคประชาสังคมโดยเฉพาะกับประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางในชีวิตประจำวัน ในการร่วมกันแจ้งเหตุ หรือบันทึกหลักฐานผู้กระทำผิดบนท้องถนนได้

เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการพัฒนาประกอบด้วย เทคโนโลยีการถ่ายภาพ และบันทึกภาพจากสมาร์ทโฟน, เทคโนโลยีการระบุพิกัดตำแหน่งของภาพและสถานที่ (Geo-tagging), เทคโนโลยีการประมวลผลภาพและการจัดเตรียมแผนที่ (Mapping comparison ), เทคโนโลยีการระบุตัวตนของผู้ใช้งาน (ผู้แจ้ง) และการตรวจสอบตัวตนว่ามีอยู่จริง ณ ช่วงเวลานั้น

อย่างไรก็ตาม แอปพลิเคชันนี้สามารถพัฒนาต่อยอดให้แก่หน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือชุมชน (อาทิ หน่วยงานที่รับแจ้งเหตุ หรือหน่วยงานกู้ภัย) เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในเชิงป้องปรามและการเผยแพร่กิจกรรมสู่สาธารณชนในระยะยาว

แอปพลิเคชันใกล้ตัว อย่าง “GoodEyes –ผิดกฎ เราถ่าย”  จึงเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยยกระดับสังคม ชุมชน และสร้างวินัยความตระหนักรู้ในการขับขี่ และยังเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ผ่านการเป็นผู้ให้ข้อมูลผู้กระทำผิดหรือฝ่าฝืนกฎจราจรได้ / ใช้งานง่าย ปลอดภัย และเป็นความลับ / ทุกคนช่วยได้

3. ทรู สมาร์ท ฟาร์มเมอร์ แพลตฟอร์ม

รางวัลเหรียญเงิน ในกลุ่มการเกษตร พืชสวน การทำสวน (Agriculture, Horticulture, Gardening)

ปัจจุบัน เรากำลังก้าวเข้าสู่โลกยุค 4.0 เทคโนโลยีกำลังปรับเปลี่ยนไปสู่ยุคดิจิทัล ดังนั้นคนไทยจะต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยน โดยเฉพาะเกษตร ซึ่งมีอยู่กว่า 30 ล้านคน โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการทำเกษตรกรรมมากขึ้น บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จึงได้พัฒนา ทรู สมาร์ท ฟาร์มเมอร์ แพลตฟอร์ม และองค์ความรู้ต่างๆ ประยุกต์ใช้ในการวางแผน บริหารจัดการที่ดีขึ้น ตลอดจนการเพิ่มช่องทางการขายผลผลิตไปยังผู้บริโภค โดยพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อตอบโจทย์สังคมยุคใหม่และเตรียมมพร้อมกับการก้าวสู่ยุค Thailand 4.0

ทรู สมาร์ท ฟาร์มเมอร์ แพลตฟอร์ม เป็นระบบ IoTs ที่รวมฟังก์ชั่นการใช้งานบนแอปพลิเคชัน ช่วยให้เกษตรกรบริหารจัดการการเพาะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการขายผลผลิตจากเกษตรกรด้วยแอปพลิเคชันเชื่อมโยงกับผู้บริโภคโดยตรง ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง เพื่อช่วยสร้างเกษตรกรไทยกว่า 30 ล้านคน ให้เป็น Smart Farmer ดังนี้

        แอปพลิเคชัน พอ-เพียง ให้ความรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ ใช้เป็นช่องทางให้ความรู้ด้านเกษตรทฤษฎีใหม่กับเกษตรกรและใช้เป็นช่องทางในการติดตามสถานะการดำเนินโครงการของเกษตรกรที่เข้าร่วม โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่

          แอปพลิเคชัน “ช่วยปลูก” ช่วยบริหารจัดการแปลงเกษตร บริหารจัดการฟาร์ม ทั้ง ดินฟ้าอากาศ ศัตรูพืช ข่าวสาร และราคาตลาด เพื่อพัฒนาให้เป็น Smart Farmer อย่างเต็มตัว

          แอปพลิเคชัน กรีนมาร์ท เชื่อมโยงตลาดสินค้าเกษตรในยุค 4.0 พัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์คามต้องการของเกษตรกรและผู้บริโภค ใช้งานที่ง่าย โดยเกษตรกรสามารถนำเสนอสินค้าเกษตรผ่านแพลตฟอร์มโดยลูกค้าที่สนใจสามารถเข้ามาติดต่อ สอบถาม สั่งซื้อ และนัดหมาย ได้ง่ายและชัดเจนมากขึ้น

05

นอกจากนี้ ยังมีระบบบริหารจัดการน้ำด้วยอุปกรณ์วัดระดับน้ำขนาดเล็ก สามารถส่งข้อมูลปริมาณค่าของระดับน้ำผ่านระบบเครือข่ายผู้ให้บริการ True mobile จัดเก็บพร้อมประมวลผลข้อมูลบนระบบ Cloud และแสดงผลเป็น Dash board เพื่อรายงานปริมาณน้ำในแหล่งน้ำขนาดเล็กในฤดูแล้ง ทำให้ทราบปริมาณน้ำคงเหลือ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ในการบริหารจัดการน้ำเพื่อประโยชน์ของประชาชนต่อไป

อย่างไรก็ตาม นวัตกรรมที่กลุ่มทรูสร้างสรรค์ ไม่ใช่เพียงเพื่อหวังผลประโยชน์เศรษฐกิจอย่างเดียว แต่ต้องมีส่วนช่วยเหลือสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่องมากว่า 10 ปี รวมทั้งเข้าร่วมเวทีการแข่งขันระดับโลก เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้จากประเทศต่างๆ ซึ่ง การที่คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ คัดเลือกทรู ให้เป็นหนึ่งในตัวแทนประเทศร่วมกับคณะนวัตกรจากองค์กรอื่นๆ นำผลงานไปจัดแสดงและส่งเข้าประกวดแข่งขันกับ 1,200 ผลงานจาก 60 ประเทศทั่วโลก นับเป็นการสร้างความภาคภูมิใจและนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศไทยร่วมกัน

ความคิดเห็น - Like เพจ iPhoneMod.net

เขียนโดย Nawaporn Nithiprapakul

Mod - J : Masters Degree - Computer Science
Chiang Mai University