in ,

อย. สรหัฐฯ อนุมัติให้ Neuralink เริ่มการศึกษาทางคลินิกครั้งแรกในมนุษย์

ไฟเขียวแล้ว! องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ อนุมัติให้บริษัท Neuralink ของอีลอน มัสก์ สามารถทำการทดลองทากับมนุษย์ได้ ในอนาคตเราอาจได้เห็นชิปฝังสมองที่รักษาโรคต่าง ๆ เกี่ยวกับบระบบประสาทได้

อย. สรหัฐฯ อนุมัติให้ Neuralink เริ่มการศึกษาทางคลินิกครั้งแรกในมนุษย์

องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (อย.) อนุมัติให้ Neuralink เริ่มการศึกษาทางคลินิกครั้งแรกในมนุษย์ ด้านบริษัทเผยว่าดีใจที่จะได้เป็น “ก้าวแรกที่สำคัญ” ที่เทคโนโลยีของบริษัทจะสามารถช่วยเหลือผู้คนจำนวนมากได้ในสักวันหนึ่ง มีแผนเตรียมเปิดรับสมัครงานเร็ว ๆ นี้

Neuralink คืออะไร ?

นิวรัลลิงก์ ก่อตั้งโดยอีลอน มัสก์ เมื่อปี 2016 เป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีประสาท หวังจะยกระดับวงการแพทย์เพื่อการรักษาโรคที่เกี่ยวกับสมองและระบบประสาท โดยเชื่อมต่อสมองมนุษย์เข้ากับคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับ ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตและโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้ป่วยในกลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยที่มีภาวะหลงลืม ผู้ป่วยลมชักและผู้ป่วยจิตเวช ผู้ป่วยโรคมะเร็ง หรือผู้ป่วยโรคอื่น ๆ ที่อยู่ในกลุ่มสูญเสียการควบคุมร่างกายและการเคลื่อนไหว

ชิป Neurlink

ในปี 2019 อีลอน มัสก์ ได้ออกมาพูดเกี่ยวกับชิปฝังสมอง เป็นอุปกรณ์ฝังสมองที่ซ่อนอยู่บริเวณหลังหู แล้วโยงสายอิเล็กโทรดผ่านกะโหลกเข้าไปยังสมอง ต่อมาในปี 2020 ก็มีการพัฒนาให้นำเอาชิปไปฝังไว้ในกระโหลกจริง ๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 23 มิลลิเมตร (ประมาณ หรียญ 5 บาท) และมีความหนา 8 มิลลิเมตร ซึ่งภายในมีสายรับส่งข้อมูลที่เรียกว่า อิเล็กโทรด ขนาดบางกว่าเส้นผมมนุษย์อยู่จำนวนมาก การฝังชิปจะทำโดยหุ่นยนต์ AI ทุกขั้นตอน ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง เมื่อทำการฝั่งชิปเสร็จก็สามารถออกจากโรงพยาบาลแล้วกลับบ้านได้เลย

Cr. CNN

หลักการทำงานของชิป Neuralink คือ ตัวชิปจะทำหน้าที่เสมือนเซลล์ประสาทอีกตัวหนึ่ง ที่สามารถรับกระแสประสาทจากสมองเข้ามาประมวลผลผ่านอิเล็กโทรดที่ฝังไว้ และสามารถส่งกระแสประสาทกลับไปเพื่อกระตุ้นให้เซลล์ประสาททำงานตามคำสั่งได้ด้วย ซึ่งนอกจากจะใช้ควบคุมร่างกายได้ อาจจะทำให้ควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ใกล้ตัวโดยที่เราไม่ต้องไปสัมผัสอุปกรณ์นั้น ๆ เช่น การพิมพ์ข้อความบนคอมพิวเตอร์โดยใช้แค่การกวาดสายตาไปยังแป้นพิมพ์เท่านั้น

หาก Neuralink ทำการทดลองทางคลินิกในมนุษย์สำเร็จ เราอาจจะได้เห็นนวัตกรรมที่เรียกได้ว่า “เปลี่ยนโลก” จริง ๆ ในเวลาอันใกล้นี้ค่ะ

ความคิดเห็น - Like เพจ iPhoneMod.net

เขียนโดย Nooknick Yanika

Humanities, English Literature
Chiangmai University