in ,

Apple ยกระดับเทคโนโลยีที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เดินหน้าขยายการใช้วัสดุรีไซเคิลกับทั่วทุกผลิตภัณฑ์

เนื่องในวันคุ้มครองโลกปี 2022 ทาง Apple ได้ออกมาอัปเดตข้อมูลและสิ่งที่ได้ดำเนินการไปแล้ว สู่การเป็นกลางทางคาร์บอนที่ตั้งเป้kเอาไว้ในปี 2030

Apple ขยายการใช้วัสดุรีไซเคิลไปใช้กับทุกผลิตภัณฑ์

ในปี 2021 นั้น Apple ได้นำอลูมิเนียมรีไซเคิลมาใช้ในผลิตภัณฑ์ของตนเองกว่า 59% โดยผลิตภัณฑ์จำนวนมากใช้อลูมิเนียมรีไซเคิล 100% ในการผลิตตัวเครื่องด้านนอก

และภายในปี 2025 ที่กำลังจะมาถึง Apple ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะไม่ใช้พลาสติกในบรรจุภัณฑ์ทุกอย่าง ซึ่งในปี 2021 ที่ผ่านมา Apple ได้ใช้พลาสติกในบรรจุภัณฑ์เพียงแค่ 4% เท่านั้น โดยนับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา Apple ได้ลดการใช้พลาสติกในบรรจุภัณฑ์ไปแล้วถึง 75%

นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ของ Apple ในปี 2021 ยังประกอบด้วย

  • แร่ธาตุหายากจากการรีไซเคิลที่ได้การรับรอง 45 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่ Apple ได้แนะนำการใช้แร่ธาตุหายากที่ได้จากการรีไซเคิลในอุปกรณ์ของตนเอง
  • ดีบุกรีไซเคิลที่ได้การรับรอง 30 เปอร์เซ็นต์ โดยอุปกรณ์ iPhone, iPad, AirPods และ Mac ใหม่ทั้งหมดต่างใช้ดีบุกรีไซเคิล 100 เปอร์เซ็นต์ในการบัดกรีลอจิกบอร์ดหลักของตนเอง
  • โคบอลต์รีไซเคิลที่ได้การรับรอง 13 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งใช้ในแบตเตอรี่ iPhone ที่สามารถถอดประกอบได้โดย Daisy หุ่นยนต์รีไซเคิลของ Apple และสามารถกลับคืนสู่ตลาดได้อีกครั้ง
  • ทองคำรีไซเคิลที่ได้การรับรอง ซึ่งนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ Apple เป็นครั้งแรก ในการชุบลอจิกบอร์ดหลักและทำสายไฟในกล้องด้านหน้าและหลังของ iPhone 13 และ iPhone 13 Pro โดยเพื่อทำให้ได้ตามหลักชัยนี้ Apple ได้บุกเบิกการตรวจสอบย้อนกลับในระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรม เพื่อสร้างซัพพลายเชนด้านทองคำจากวัสดุที่รีไซเคิลแบบพิเศษ

การคัดแยกและการรีไซเคิลชิ้นส่วนอุปกรณ์เก่า ๆ เป็นการลดการขุดแร่ธาตุที่หายาก ซึ่งมีโอกาสจะหมดไปจากโลก อย่างเช่นทองคำและทองแดงที่ได้จากแร่ตามธรรมชาติ ซึ่งการทำสิ่งนี้ช่วยลดการขุดหาแร่ธาตุมาเป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้มากถึง 2,000 เมตริกตัน

Apple ยังคงมุ่งมั่นในการยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ตนเองโดยการนำกลับมาปรับปรุงใหม่ ในปี 2021 Apple ได้ส่งอุปกรณ์และอุปกรณ์เสริมจำนวน 12.2 ล้านชิ้นให้แก่เจ้าของคนใหม่เพื่อการใช้ซ้ำ เป็นการยืดอายุการใช้งานผลิตภัณฑ์ และลดความต้องการในการขุดแร่ในอนาคต

และในท้ายที่สุด Apple ตั้งเป้าที่จะใช้เพียงแค่วัสดุรีไซเคิลหรือวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ในผลิตภัณฑ์ของตนเอง ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ประกาศมาตั้งแต่ปี 2017 และยังคงดำเนินต่อมาเรื่อย ๆ กลายมาเป็นแผนภูมิเส้นทางของบริษัทในการออกแบบและการจัดหาวัสดุนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาและจะกำเนินต่อไปในอนาคต

Taz, Daisy และ Dave เครื่องจักรแยกส่วนประกอบของ Apple

“Taz” เป็นเครื่องจักรใหม่ซึ่งใช้เทคโนโลยีที่เหมือนกับการทำลายขยะแบบใหม่ที่แยกแม่เหล็กออกจากโมดูลเสียง พร้อมช่วยคัดแยกและนำแร่ธาตุหายากกลับมาใช้ใหม่ให้ได้มากขึ้น เป็นความก้าวหน้าใหม่ด้านการรีไซเคิลของ Apple

และ Apple ยังได้ขยายความสามารถของ “Daisy” หุ่นยนต์ถอดประกอบ iPhone ซึ่งเป็นสิทธิบัตรของ Apple ให้มีความสามารถมากขึ้น Daisy สามารุแยกชิ้นส่วนของ iPhone ได้ถึง 23 รุ่น และ Apple ยังแบ่งปันสิทธิบัตรเหล่านี้ให้แก่บริษัทอื่นและนักวิจัยโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายอีกด้วย

นอกจากนี้ยังมี “Dave” หุ่นยนต์อีกตัวหนึ่งมีความสามารถในการถอดประกอบ Taptic Engines เพื่อช่วยในการคัดแยกและนำแร่ธาตุหายากกลับมาใช้ใหม่ อย่างเช่นแม่เหล็ก ทังสเตน และเหล็ก

Apple รายงานความคืบหน้าด้านสิ่งแวดล้อมประจำปี 2022

  • Apple พยายามเน้นย้ำถึงการทำงานสำคัญ ๆ ของบริษัทเพื่อสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนในซัพพลายเซนของตนเองทั่วโลก
  • ยืดอายุการใช้งานของทุกผลิตภัณฑ์
  • พยายามลดของเสียและส่งเสริมการใช้วัสดุต่าง ๆ ในผลิตภัณฑ์ของตนเองอย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น
  • รายได้ของ Apple เติบโตขึ้นถึง 33% แต่อัตราการปล่อยมลพิษโดยรวมของบริษัทไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย
  • พึ่งพาพลังงานหมุนเวียนแบบ 100% สำหรับสำนักงาน ร้านค้า และศูนย์ข้อมูลของตนเองมาตั้งแต่ปี 2018
  • พันธมิตรด้านการผลิตหลักของบริษัทจำนวน 213 แห่งทั่วทั้ง 25 ประเทศ ได้สัญญาที่จะใช้พลังงานในการผลิตผลิตภัณฑ์ Apple ทั้งหมดด้วยไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โดยในปี 2021 โครงการพลังงานหมุนเวียนเหล่านี้ได้หลีกเลี่ยงการปล่อยคาร์บอนได้ถึง 13.9 ล้านเมตริกตัน ซึ่งเทียบเท่ากับการนำรถออกจากท้องถนนถึง 3 ล้านคันเป็นเวลาหนึ่งปี

Apple ยังคงเดินหน้าทำสิ่งต่าง ๆ อีกมากมายเพื่อเป้าหมายใหญ่ในการเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2030 มาติดตามความคืบหน้าและก้าวต่อ ๆ ไปของ Apple ในทุก ๆ ปีกันค่ะ

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ applenewsroom

ความคิดเห็น - Like เพจ iPhoneMod.net

เขียนโดย Nooknick Yanika

Humanities, English Literature
Chiangmai University