in

Steve Wozniak (ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple) พูดถึงความสำคัญของสิทธิในการซ่อม

Steve Wozniak ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Apple ได้โพสต์วิดีโอความยาว 10 นาที พูดถึงสิทธิในการซ่อม และเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับสิทธิในการซ่อมให้ฟังกัน

Steve Wozniak พูดถึงสิทธิในการซ่อม

Steve Wozniak ได้ตอบรับคำเชิญของ Louis Rossmann (ผู้เรียกร้องกฎหมายสิทธิในการซ่อม) ให้ Wozniak แสดงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นสิทธิในการซ่อม

Wozniak เผยว่าถ้าไม่มี Open Source บริษัท Apple ก็คงไม่เกิดขึ้น, เพราะในอดีตนั้น หากเราซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างทีวี วิทยุ จะมีเอกสารคู่มือเพื่อให้เราได้ศึกษา จนทำให้สามารถแกะรอย ชำแหละ สิ่งนี้เรียกว่า Open Source ทั้งหมด

Steve Wozniak กับ Apple II – ภาพจาก techcrunch

เขาเล่าว่าในอดีตผู้ใช้ที่ถึงแม้ไม่ใช่ช่างเทคนิค ก็สามารถถอดชิ้นส่วนอุปกรณ์ออกมาเพื่อเช็คสภาพเองได้ ถ้าชิ้นส่วนเสียหายก็สามารถซื้อและนำมาเปลี่ยนใหม่

Wozniak เล่าว่าจริง ๆ แล้วตอนที่เริ่มก่อตั้ง Apple เขาไม่ได้สร้างอุปกรณ์จากชิ้นส่วนสำเร็จรูป มันเกิดขึ้นมาจากการซ่อม ปรับแต่ง ดัดแปลงเพื่อใช้งานเอง

Apple II – ภาพจาก Wikipedia

Wozniak พูดถึงประสบการณ์เกี่ยวกับสิทธิในการซ่อมของปัจจุบันว่า ผู้ใช้ซ่อมอุปกรณ์ตัวเองได้ยากขึ้น กลุ่มผู้คนที่พูดคุยเรื่องการซ่อมอุปกรณ์ด้วยตัวเองหายไป รวมถึงสิทธิในการซ่อมก็หายไปด้วย

Wozniak ได้ยกตัวอย่าง Apple II (คอมพิวเตอร์ในอดีตของ Apple) ว่าจะมีเอกสารแผนผังวงจรไปให้ด้วย ซึ่ง Apple II นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างชื่อและรายได้อย่างมหาศาลให้ Apple ในช่วง 10 ปีแรก

Apple II ขายไปได้ทั้งสิ้น 6 ล้านเครื่อง

แผนผังวงจร Apple II – ภาพจาก reactivemicro.com

Wozniak เชื่อว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องพูดถึงเรื่องสิทธิในการซ่อมอย่างจริงจัง โดยเขาเชื่อว่าบริษัทต่าง ๆ จะยังไม่เห็นด้วยกับสิ่งนี้ เพราะสิ่งนี้ทำให้บริษัทมีอำนาจในการควบคุมทุกสิ่งและทิ้งท้ายว่า” คอมพิวเตอร์เป็นของเราหรือเป็นของผู้จำหน่ายกันแน่” ถึงเวลาที่ต้องเรียกร้องสิทธิ์กันได้แล้ว

สิทธิในการซ่อม (Right to repair)

จากคำพูดของ Wozniak จะเห็นได้ว่าเขาต้องการให้สิทธิในการซ่อมเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญมากกว่านี้ เพราะในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่า อุปกรณ์เทคโนโลยีรุ่นใหม่ ๆ ยากที่ผู้ใช้จะซ่อมแซมได้ด้วยตัวเอง อย่างเช่นแบตเตอรี่ของสมาร์ตโฟน เป็นต้น

สิทธิในการซ่อมนั้นถูกบังคับใช้กฎหมายในยุโรป (เริ่ม มี.ค. 2020) ซึ่งบริษัทจะต้องแนบวิธีการหรือคู่มือซ่อมสินค้า รวมถึงต้องมีอะไหล่สำหรับการเปลี่ยนอย่างน้อย 10 ปี วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้ยืดอายุการใช้งานและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (หากเสียหายก็ไม่ต้องซื้อใหม่ สามารถซ่อมเองได้) – อ้างอิง sdgmove

ที่มา – 9to5mac

ชมวิดีโอ

ความคิดเห็น - Like เพจ iPhoneMod.net

เขียนโดย Thitirath Kinaret

เต้นท์ iMoD : ป.ตรี วิศวกรรมซอฟต์แวร์ ป.โท บริหารธุรกิจ ม.พายัพ ชอบความสวยงามแบบเรียบง่าย ตามแบบฉบับของ Apple @Contact : facebook.com/tentzy