Image: http://genk.vn/
in ,

iPhone พังแล้วไปไหน? มาดูกัน

ตามหลักพุทธศาสนาแล้วบนโลกนี้ไม่มีอะไรเที่ยงแท้ ทุกสิ่งเกิดขึ้น คงอยู่ และดับไป สำหรับ iPhone เองก็มีวงจรชีวิตที่ไม่ต่างกัน หลายคนอาจเลือกขายทิ้งทันทีที่ตกรุ่น หลายคนอาจเลือกส่งต่อให้ลูกหลาน และหลายคนอาจเลือกที่จะใช้และซ่อมจนกว่ามันจะถึงที่สุดแล้วจริง ๆ แต่อย่างไรเสียการรีไซเคิลหรือทำลายทิ้งก็ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน (เว้นแต่ว่าบางประเทศที่กฎหมายสิ่งแวดล้อมไม่เข้มงวดก็อาจเผารวมกับขยะอื่นไปเลย)

Image: http://genk.vn/
Image: http://genk.vn/

ณ โรงงานที่ถูกรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง ในสถานที่ไม่เปิดเผยข้อมูลในฮ่องกง กำลังทำลาย iPhone อย่างพิถีพิถัน และสถานที่แห่งนี้เป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่แห่งทั่วโลก ที่ได้รับการแต่งตั้งโดย Apple Inc เพื่อที่จะทำการบดและรีไซเคลอย่างถูกต้องภายใต้มาตรฐานที่เข้มงวดและเป็นความลับ

ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมจาก Apple

Apple มียอดขายไอโฟนกว่า 570 ล้านเครื่องทั่วโลก ตั้งแต่มกราคมเมื่อ 9 ปีที่ผ่านมา และถึงแม้แบรนด์อื่นจะสร้างขยะอิเล็คทรอนิกส์และมีมาตรการจัดการที่คล้ายกัน แต่แบรนด์ที่เข้มงวดที่สุดคงหนีไม่พ้น Apple นั่นเอง ว่าแต่เรามาดูกระบวนการคร่าว ๆ กันเลยดีกว่า

Breaking Down the iPhone 1

หากพูดถึงในธุรกิจรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติตามมาตรฐานแล้วจะต้องทำให้ได้ประมาณ 70% ในขณะที่มาตรฐานของ Apple สูงถึง 85% (ไม่ได้เฉพาะสินค้าของตัวเอง แต่รวมถึงสมาร์ทโฟนรุ่นอื่นที่มาฝากรีไซเคิลในร้าน Apple Store ด้วยเช่นกัน)

สำหรับ iPhone 3GS ที่เคยเปิดตัวในปี 2009 มีประมาณ 9 ล้านเครื่อง (หลายส่วนถูกทำลายไปบ้างแล้ว) และด้วยธุรกิจที่เติบโตอย่างก้าวกระโดษ กลายเป็นว่าในอนาคตอาจมี iPhone ให้ทำลายเพิ่มขึ้นถึง 155 ล้านเครื่อง และหากเทียบขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งปี 2014 มันอาจหนักมากถึง 40,000 ตัน ซึ่งเมื่อรวมเหล็กแล้วอาจสร้างรางรถไฟได้ไกลถึง 100 ไมล์เลยทีเดียว

ขั้นตอนการทำลายขยะอิเล็กทรอนิกส์นี้เริ่มต้นด้วยการที่ Apple Store หรือช่องทางออนไลน์ของทางบริษัท จะรับเครื่องคืนจากลูกค้าที่ต้องการทิ้งพร้อมกับมอบบัตรของขวัญให้ (แต่ถ้าเมืองไทยเราคงขายมือสอง ไม่ก็เอาไปขายให้ตู้ตามมาบุญครอง)

หลังจากการทดสอบอย่างรวดเร็วก็จะมีทั้งขอเสนอข้อซื้อหรือแม้กระทั่งทิ้งฟรี ในอเมริกาเองอาจหากคุณมี iPhone 4 อาจได้ถึง $100 และสำหรับ iPhone 6 Plus คุณอาจได้ถึง $350 โดยกระบวนการรีไซเคิลทั้งหมดจะมีราว 10 ขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการวัดและสคริปต์ผ่านห้องสูญญากาศที่ผิดสนิท และออกแบบมาเพื่อจับและป้องกันสารเคมีทั้งหมด 100% ที่รั่วไหลออกมาระหว่างกระบวนการ

แอปเปิ้ลรวบรวมได้กว่า 40,000 ตันของขยะอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2014

ข้อมูลทุกสิ่งในเครื่องจะถูกล้างและทำลายทั้งหมด และไม่สามารถนำมาผสมกับแบรนด์อื่นเพื่อรีไซเคิลได้ กระบวนการดังกล่าวถูกทำลงในโรงงานที่มีพนักงานกว่า 300 คน ความแตกต่างอยู่ตรงที่บางแบรนด์อาจเลือกที่จะเก็บชิปที่สามารถใช้ซ่อมแซมหรือเป็นอะไหล่ได้ แต่สำหรับ Apple มีนโยบายในการทำลายทุกชิปและชิ้นส่วน

Breaking Down the iPhone 2

ทั้งหมดนี้ทางบริษัทฯ ให้เหตุผลว่าเพื่อป้องกันอะไหล่ปลอมที่อาจมาปรากฎในตลาดมือสอง และสารเคมีหรือวัตถุที่เป็นอันตรายจะถูกจัดเก็บไว้ในสถานที่ได้รับอนุญาตและเป็นคู่ค่าของทางบริษัทฯ ส่วนสารที่สกัดได้เช่นทองคำและทองแดง รวมถึงวัสดุอื่นอาจถูกนำไปขายต่อเพื่อผลิตเป็นหน้าต่างอลูมิเนียม เฟอร์นิเจอร์หรือกระเบื้องแก้วต่อไป

ความคิดเห็น - Like เพจ iPhoneMod.net

เขียนโดย yugioh2500

หากตรงไหนแปลหรือเขียนผิดสามารถชี้แนะได้ครับ
ติดต่อ-สอบถาม-พูดคุย-แลกเปลี่ยนกันได้ที่
Twitter: @yugioh2500