in

ผลงานนักวิจัย มข. ผลงานจากแกลบสู่แบตเตอรี เก็บพลังงานได้ดีขึ้น 12 เท่า

nonglak

ฮือฮาอีกครั้งเมื่อนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นค้นคว้าจนเป็นผลสำเร็จโดยการสังเคราะห์เถ้าแกลบนำมาทำเป็นวัสดุของขั้วแบตเตอรีชนิด Li-on ที่ประสิทธิภาพสามารถเก็บพลังงานได้มากกว่าคาร์บอน 12 เท่าและยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ศูนย์ข่าวขอนแก่น – นักวิจัย ม.ขอนแก่นสุดเจ๋ง สังเคราะห์เถ้าแกลบ เป็นวัสดุทำขั้วลบแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน เผยประสิทธิภาพเก็บพลังงานได้มากกว่าคาร์บอนถึง 12 เท่า หรือแบตเตอรี่เล็กลง แต่ให้ประสิทธิภาพเท่าเดิม ชี้เกิดประโยชน์สูงทั้งต่ออุตสาหกรรมไอซีที รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ด้านผู้วิจัยเล็งวิจัยต่อเนื่อง ให้วัสดุที่สังเคราะห์ขึ้นดูดซับลิเทียมไอออนมากขึ้นและอายุใช้งานยาวนานขึ้น พร้อมอ้าแขนรับผู้ประกอบการชาวไทยนำผลงานไปขยายผลเชิงพาณิชย์

558000011575601

วันนี้ (5 ต.ค. 58) ที่ห้องประชุมสิริคุณากร 4 อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะนักวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) นำโดย ผศ.ดร.นงลักษณ์ มีทอง อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มข. นำเสนอผลงานวิจัย สังเคราะห์วัสดุนาโน ทั้งนาโนซิลิกอน นาโนซิลิกา และนาโนซิลิกอนคาร์ไบด์ ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาวิจัยจากเถ้าแกลบ โดยวัสดุนาโนดังกล่าวสามารถนำไปใช้ทดแทนคาร์บอน วัสดุสำหรับทำขั้วไฟฟ้าแอโนดหรือขั้วลบของแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน สามารถกักเก็บพลังงานได้มากกว่าคาร์บอน 12 เท่า

สำหรับงานวิจัยนี้เป็นหนึ่งในสามหัวข้องานวิจัยหลักของห้องปฏิบัติการและวิจัยวัสดุขั้นสูงเพื่อกักเก็บพลังงาน (Advanced Energy Storage Materials Laboratory) ซึ่งดำเนินงานวิจัยใน 3 เรื่องหลักประกอบด้วย การสังเคราะห์วัสดุโครงสร้างนาโนที่มีคุณสมบัติทางไฟฟ้าเคมีที่ดีและมีประสิทธิภาพสูง, การศึกษาพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงเฟสของวัสดุขณะใช้งานด้วยเทคนิควิเคราะห์ขั้นสูง และการนำวัสดุธรรมชาติมาผลิตเป็นขั้วไฟฟ้าและส่วนประกอบของแบตเตอรี่เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตร

สำหรับการนำไปผลิตในเชิงพาณิชย์นักวิจัยได้กล่าวไว้ว่า

“คณะผู้วิจัยขอสงวนท่าทีต่อการนำผลงานวิจัยชิ้นนี้ขยายผลไปสู่การผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนในเชิงพาณิชย์เฉพาะกับผู้ผลิตหรือซัปพลายเออร์ที่เป็นผู้ประกอบการชาวไทย เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์ที่มีศักยภาพ ที่ผ่านมามีผู้ประกอบการจากต่างประเทศ สนใจเข้ามาเจรจาที่จะนำผลงานวิจัยไปขยายผลในเชิงพาณิชย์ ส่วนขั้นตอนการจดสิทธิบัตรนั้น คาดว่าต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 ปีถึงจะมีผลคุ้มครองผลงานวิจัยชิ้นนี้ได้” ผศ.ดร.นงลักษณ์กล่าว

เป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับผลงานดีๆ แบบนี้จากนักวิจัยชาวไทยที่ผลงานนั้นเพิ่มคุณภาพของวงการแบตเตอรีและแถมยังรักษาสิ่งแวดล้อมเพร้อมเพิ่มมูลค่าให้สินค้าเกษตรอย่างแกลบได้มากขึ้นอีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก Manager Online

ความคิดเห็น - Like เพจ iPhoneMod.net

เขียนโดย Attapon Thaphaengphan

ศิษย์เก่าวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ม. ขอนแก่น ผู้ก่อตั้ง iPhoneMod.net ตั้งแต่ปี 2009
อดีต Dell Technical Support รู้จัก ​Apple เพราะ Macbook Pro และใช้ iPhone ตั้งแต่รุ่น 3G จนถึงปัจจุบัน